หน้าเว็บ

25 พฤศจิกายน 2556

อนุรักษ์แบบอุปาทาน?

ทุกสิ่งอย่างล้วนเปลี่ยนแปลง และต่างก็กล่าวว่าตนนั้นคือผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
แต่ทำไม ไม่ยืดหยุ่นเอาซะเลย
ทำงานแต่ละอย่างก็ต้องอย่างงั้นอย่างงี้เป๊ะๆ แม้แต่แบบตัวอักษรก็ยังบังคับให้ใช้อยู่ฟอนต์เดียว
อนุรักษ์มากเกินไปก็ไม่ยืดหยุ่น ก็คืออุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น และมีอัตตา ตัวกูของกูล้นเหลือ

19 พฤศจิกายน 2556

นักรบ, นักเจรจาต่อรอง

เหตุเกิดในที่ทำงานทั่วๆ ไป
เมื่อเกิดความขัดแย้ง เกิดเรื่องไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ ถูกกดดัน ถูกเอาเปรียบ มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ใช้วิธีเคลียร์ให้ราบเป็นหน้ากลอง ให้แพ้ชนะกันไปข้าง
หากชนะก็สะใจ และเหยียดหยามคู่ต่อกร
หากแพ้ ก็เกิดอารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต

13 พฤศจิกายน 2556

อย่าคิดว่าชนะโหวตแล้วจะชนะไปซะหมด

คนเราชอบใช้วิธีโหวตเสียงเพื่อตัดสินเรื่องต่างๆ ให้ผู้คนทั้งหมดยอมทำตาม
ดังนั้นจึงต้องล็อบบี้ ต้องหว่าล้อมเสียงต่างๆ กันก่อนที่จะลงคะแนนโหวต
แต่เราก็ต้องยอมรับไม่ใช่หรือว่า เราเองที่แพ้โหวตนั้น ไม่ได้เต็มใจที่จะปฏิบัติตามมตินั้น หรือหากต้องปฏิบัติตาม ก็ปฏิบัติตามแบบไม่เต็มใจ อึดอัดขัดข้องใจที่ต้องปฏิบัติ
และจะสะใจมากเลย เมื่อผลการปฏิบัตินั้นมันล้มเหลว

26 กรกฎาคม 2556

ทำบุญแบบใช้ความคิด


อาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาปีนี้ ก็ยังคงเหมือนๆ เดิม วัดต้องหาที่เก็บหลอดไฟและเครื่องสังฆทานกันอีกแล้ว

ทำไมคนชอบเอาหลอดไฟไปทำบุญ ทำไมต้องถวายสังฆทาน (บางที่ยังมีนะ ที่เอาเทียนพรรษาไปถวายให้วัดที่ไม่จำเป็นต้องใช้เทียนพรรษา)

เพราะเราได้รับการสอนมาแบบไม่เต็มหรือเปล่าว่าบุญนั้นเกิดขึ้นได้ 3 ระดับ คือ ทาน ศีล ภาวนา

20 พฤษภาคม 2556

ยังมีอีกไหม? คนอหังการ์


 

พบความสอดคล้องในคำพูดของ Stephen R. Covey จาก The 8th Habit: From Effectiveness to Greatness (อุปนิสัยที่ 8 จากประสิทธิผลสู่ความยิ่งใหญ่!) ที่ว่า

“เพื่อรักษาความเคารพในตนเอง เราต้องทำสิ่งที่ถูกต้องแม้จะทำให้คนไม่พอใจ ดีกว่าทำให้คนพอใจชั่วคราวด้วยการทำสิ่งที่เรารู้ว่าผิด”

และจาก David J. Lieberman ใน Get Anyone to Do Anything (คู่มือสะกดใจคน) ว่า

16 เมษายน 2556

พอแก่เหยเป โซเซเข้าวัด



หนุ่มสาวเราฮาเฮ พอแก่เหยเป โซเซเข้าวัด / หนุ่มสาวเราเข้าวัด พอแก่ยอกขัด เราเฝ้าบ้าน
นึกถึงคำคมหลวงตา (แพร เยื่อไม้) เมื่อได้ไลน์คุยกับเพื่อนเก่าเรื่องการเสาะหาแหล่งศึกษาธรรม เพื่อนถามว่าได้ฝึกถึงไหนแล้ว ก็เพียงตอบว่าฝึกถึงขั้นที่ไม่ต้องไปเสาะหาอาจารย์แล้ว เพราะต้องฝึกต่อไปอย่างจริงๆจังๆ ให้ได้ก่อน ต่อเมื่อสงสัยหรือเกิดปัญหาขึ้น จึงค่อยกลับไปหาอาจารย์ ซึ่งอาจเป็นอีก 2 ปี 3 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า แต่คาดว่าไม่จำเป็นต้องกลับไปหา เพราะอาจารย์สอนล่วงหน้ามาเยอะแล้ว ฝึกไปจริงๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรน่าเป็นห่วง

04 มกราคม 2556

ทำไมคนเราไม่เปลี่ยนแปลง?

ทั้งที่ได้รับการฝึกอบรมมามากมาย ที่ทำให้ทราบถึงหลักการ กรอบความคิด และแนวทางในการปฏิบัติตัวประพฤติตนสู่ความสำเร็จ สู่ความเป็นมืออาชีพ แล้วทำไมยังคงประพฤติปฏิบัติตนเช่นกาลก่อน พอใจกับวิถีชีวิตตนเองแล้วหรือ ยอมรับสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันนี้แล้วหรือ?
ดูเหมือนว่าระหว่างการฝึกอบรมและเมื่อจบจากการฝึกอบรมใหม่ ต่างก็มุ่งหมายว่าจะนำหลักการวิธีการที่ดีเหล่านั้นมาประพฤติปฏิบัติ แต่ทำไมไม่เกิดผลที่ยั่งยืน พวกเขาขาดความมุ่งมั่นที่แท้จริงหรือไม่ หรือไม่เห็นด้วยกับวิธีการหลักการเหล่านั้น ใครรู้ช่วยตอบที!!!