หน้าเว็บ

31 ตุลาคม 2553

อุปนิสัยแห่งมืออาชีพ-ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

สงสัยว่าในโลกนี้ มีคนที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในครั้งแรกเลยหรือไม่? มันก็น่าจะมีบ้าง แต่อัตราส่วนเท่าไร?
คำถามข้างบน ไม่น่าสนใจเท่ากับคำถามที่ว่า เมื่อทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมใครั้งแรกแล้ว เขาจะทำอย่างไรต่อจากนั้น?
คนทั่วไป (ถือว่าเป็นธธรมชาติของคนได้ไหม) ที่เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้แล้วก็จะหาใครสักคน หรือสักกลุ่มที่จะได้ระบายความผิดพลาด

24 ตุลาคม 2553

เขาคือมืออาชีพ

จาก “จับจุดเจ้านาย” (พลชัย เพชรปลอด) ในเรื่อง “น้ำใต้ศอก” เชื่อมโยงไปถึงเรื่อง “หนี้ทางใจ” ใน “วันของมืออาชีพ” (สุจินต์ จันทร์นวล) ในมุมมองของลูกน้องผู้รู้ใจนายมากที่สุด กับผู้บริหารมือชีพที่สร้างลูกน้องให้ประสบความสำเร็จสู่มืออาชีพ สนุกจริงๆ
เมื่อได้อ่านหนังสือของคุณพลชัย เพชรปลอด ซ้ำรอบ 2 ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงไปถึงคุณสุจินต์ จันทร์นวล ก็เลยต้องอ่านงานของคุณสุจินต์ จันทร็นวล ซ้ำไปด้วย และก็ถือโอกาสค้นหาว่าคุณสุจินต์ จันทร์นวล เขียนหนังสือไว้กี่เล่ม นับดูเองนะครับ

17 ตุลาคม 2553

เทพสยบมาร 4

3 ตอนก่อนว่ากันถึงมารระดับเดียวกันและระดับต่ำกว่า วันนี้ถึงคิวคนที่คุณก็รู้ว่าใคร คือคนระดับที่สูงกว่าเรา
ถือว่าหมดมารดีกว่า ระดับสูงกว่าเราจะเป็นมารได้ยังไง? จะว่านายเป็นมารนั้น ไม่ใช่หนทางแห่งความเจริญแน่ ถือว่าเป็นเทพชั้นสูงก็แล้วกัน
ความ จริงแล้วการจัดการกับมารระดับสูง... ขอโทษ! เทพระดับสูงนั้น ต้องใช้ทักษะและพลังอินทรีย์ที่แก่กล้า เรียกว่าการบริหารเจ้านายครับ แต่การบริหารเจ้านายที่แท้จริงนั้นก็คือการบริหารตนเองให้สอดคล้องกลมกลืน กับนาย สั่งสมความไว้เนื้อเชื่อใจจากนายให้ได้ก่อน ช่วยเหลือนาย อาสาทำงานที่นายหาคนทำให้ไม่ได้ จนทำให้นายนึกอยู่เสมอว่าเราคือตัวเลือกแรกๆ ที่นายจะนึกถึง

13 ตุลาคม 2553

หลักการที่เป็นหนึ่งเดียว

ไปได้หนังสือมาหลายเล่ม (ซื้อน่ะครับ) แล้วก็แปลกใจว่าเราพลาดไปได้ไงกับหนังสือแนวนี้ โดยเฉพาะเล่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเรื่องว่า “จับจุดเจ้านาย” โดยพลชัย เพชรปลอด ของสำนักพิมพ์บริษัท สมาร์ท ทู เวิร์ค จำกัด ซึ่งพิมพ์มาตั้งแต่มีนาคม 2551
อ่านไปแล้วรู้สึกคุ้นๆ ค้นดูของเก่าที่มีอยู่ มันก็คือ “น่าเบื่อจะตายเจ้านายผม” ของสยามอินเตอร์บุค ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อตุลาคม 2545 ซึ่งเป็นของผู้เขียนคนเดียวกัน แต่ต่างชื่อต่างสำนักพิมพ์ และต่างลำดับเรื่องราว

08 ตุลาคม 2553

เทพสยบมาร 3

สาระสำคัญของการสยบมาร คือความพร้อมของตนเอง ต้องถามตนเองก่อนว่าตนนั้นเป็นเทพขั้นไหน แข็งแกร่งมีพละกำลังเพียงพอหรือไม่ พละกำลังในที่นี้ไม่ใช่กำลังอำนาจแบบกองกำลัง หรือใช้พวกมากลากไป แต่เป็นพละกำลังจากคุณความดีอันเป็นบารมีที่สั่งสมมา
นึงถึงมะพร้าวนาฬิเกร์ในสวนโมกข์ที่ท่านพุทธทาสทำไว้ – มะพร้าวเอ๋ย มะพร้าวนาฬิเกร์ ต้นเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงแต่ผู้พ้นบุญเอย

03 ตุลาคม 2553

เทพสยบมาร 2

กรณีที่ตัวแสบนั้นเป็นลูกน้อง หรือผู้ที่ตำแหน่งน้อยกว่าเรา น่าจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดที่จะจัดการ และหากเราไม่จัดการเขาก็จะยิ่งกำเริบเสิบสานยิ่งขึ้น และจริงๆ แล้วควรเป็นเป้าหมายที่เราต้องจัดการก่อนเป็นลำดับแรก ตามหลักการที่ว่าทำจากเล็กไปใหญ่ (เจ้าฝางชะล่าใจในไม่นานก็แตก)
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับกรณีนี้ก็คือ ทำไมเจ้าเปี๊ยกนั้นจึงกล้ากัดเรา ไม่ต้องไปสนใจหรอกว่ามีสาเหตุมาจากอะไร สนใจแต่เพียงว่าเขากำลังมีพฤติกรรมที่เลวร้าย เราต้องจัดการเขาด้วยความรักความเมตตา ให้เขาได้สำนึก ได้รู้ตัวถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น ปรับตัวปรับใจเสียใหม่ก่อนที่จะเขาถลำลึกลงไปในปรักแห่งความชั่ว ทำบุญทำกุศลนะ