หน้าเว็บ

12 กันยายน 2555

การแก้ไข กับ การปฏิบัติการแก้ไข

(Correction VS Corrective Action)

เกิดความสับสนว่า Correction กับ Corrective Action นั้น แตกต่างกันอย่างไร ลองค้นคว้าจาก ISO 9000:2005 ได้ความดังนี้
Correction: Action to eliminate a detected nonconformity
การแก้ไข: การดำเนินการเพื่อกำจัดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่พบ
Note 1       A correction can be made in conjunction with a corrective action.
หมายเหตุ 1 Correction สามารถกระทำร่วมกับ Corrective Action
Note 2       A correction can be, for example, rework or regrade.
หมายเหตุ 2 ตัวอย่างของ Correction เช่น การทำใหม่ หรือ การลดเกรด


Corrective Action: Action to eliminate the cause of a detected nonconformity or other undesirable situation
การปฏิบัติการแก้ไข:      การดำเนินการเพื่อกำจัดสาเหตุของความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
Note 1       There can be more than one cause for a nonconformity.
หมายเหตุ 1 สาเหตุของการเกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด สามารถมีได้มากกว่าหนึ่งสาเหตุ
Note 2       Corrective action is taken to prevent recurrence whereas preventive action is taken to prevent occurrence.
หมายเหตุ 2 Corrective Action เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ แต่ Preventive Action เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น
Note 3       There is a distinction between correction and corrective action.
หมายเหตุ 3 Correction นั้น แตกต่างจาก Corrective Action
หากจะเขียนเป็นภาพให้ดูง่ายขึ้น ก็จะได้ ดังนี้

การแก้ไข หรือ Correction หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก็คือฝั่งขวาของเส้นประ หรือการดำเนินการกับตัวปัญหา และตามล้างตามเช็ดไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาด้วย เช่น พบว่าเหล็กที่รับเข้ามาเหลือจากการใช้งานกองอยู่นี้ ไม่ได้คุณภาพ (ตรวจรับพลาดไปแล้ว) การแก้ไขแบบ Correction ก็คือ เจ้าเหล็กที่เหลือกองอยู่นี้ต้องคัดแยก ชี้บ่ง ไม่นำไปใช้งาน ขณะเดียวกันก็ต้องตรวจสอบว่าได้นำเหล็กกองนี้ไปทำอะไร ก็ต้องตามไปทุบไปตีแก้ไขงานที่ใช้เหล็กกองนี้ด้วย
ส่วนการปฏิบัติการแก้ไข (หรือใครจะเรียกว่ากิจกรรมการแก้ไขก็ได้ อยู่ที่จะแปร action อย่างไร) หมายถึงว่า จะต้องวิเคราะห์สาเหตุให้ได้ว่าทำไมจึงจ่ายเหล็กที่ไม่ได้คุณภาพออกไป ซึ่งโดยทั่วไปก็จะใช้ why-why analysis เพื่อสาวให้ถึงสาเหตุต้นตอ หรือสาเหตุรากเหง้า (Root Cause) หรือฆาตกรตัวจริง แล้วจัดการกำจัดสาเหตุต้นตอหรือฆาตกรตัวจริงนั้นซะ จะได้ไม่เกิดซ้ำเกิดซากอีก

ไม่มีความคิดเห็น: