หน้าเว็บ

11 กรกฎาคม 2554

ปัญหาของใคร? ใครจะแก้ปัญหานั้น?


ปัญหาของใคร? ใครจะแก้ปัญหานั้น?
ปัญหาที่พบในองค์กรนั้น บางอย่างก็สลับซับซ้อน และอาจมีต้นเหตุมาจากหน่วยงานอื่นหรือหน่วยงานก่อนหน้าเรา หากเขามีการพัฒนาปรับปรุงงาน ส่งงานดีๆ มาให้เราแล้วละก็ การทำงานต่อเนื่องจากเราก็ย่อมไม่มีปัญหา หรือถ้ามี เราก็จะสามารถยอมรับได้อย่างเต็มอกเต็มใจว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากเรา
 
โชคร้ายที่ในความเป็นจริงนั้น เราอาจต้องรับกรรมที่ต้องรับภาระแก้ไขปัญหางานที่เราไม่ใช่สาเหตุต้นตอ แต่ว่า เราได้ทำอะไรลงไปบ้าง ยังคงก้มหน้าก้มตามแก้ไขปัญหาต่อไปจนตายหรือ เราหมดหนทางที่จะไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้แล้วหรือไร
หากจะโต้แย้งว่า ก็เมื่อสาเหตุไม่ได้เกิดจากเรา เราจะแก้ไขได้อย่างไร ก็ต้องแก้ที่ปลายเหตุอย่างนี้ต่อไปเรื่อย
แบบนี้ เห็นจะไม่เกิดการพัฒนา ไม่เป็นมืออาชีพ ไม่เป็นผู้มีจิตสาธารณะแล้ว
หากจะบอกว่า ก็อยากแก้ไขอยู่เหมือนกัน แต่ด้วยอำนาจบารมีในปัจจุบันนี้ มีแค่หางอึ่ง จะไปทำอะไรได้ ลองอ่านคำคมนี้
คนเราไม่ควรสูญเสียเวลากับการตั้งคำถาม เช่น เราจะได้เครื่องมือเพิ่มเมื่อไร? แต่ให้ถามว่า เราจะต้องทำอะไรจึงจะประสบความสำเร็จได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่? (Outstanding! 47 ways to make your organization exceptional - โดดเด่นเหนือใคร! : John G. Miller – จุฑามาศ สุคนธา)
และพระบรมราโชวาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “ในการทำงานนั้น อย่าได้นำความขาดแคลนมาเป็นข้ออ้าง แต่จงนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หากว่าเราอยู่ฐานะที่พร้อมเพรียง แล้วเราได้ทำในสิ่งที่ควรทำ เขาเรียกว่า “เจ๊า” แต่หากไม่ทำ หรือทำไม่ได้ก็ “เจ้ง”
แต่ในขณะที่เราไม่มีทัพยากรเพียงพอ อำนาจบารมีก็นิดเดียว (เผลออีกแล้วว่าต้องใช้อำนาจหรือไร) แล้วลงมือมำแต่ทำไม่สำเร็จ ก็แค่ “เจ๊า” แต่ถ้าทะลึ่งทำจนสำเร็จ มัน “เจ๋ง” ไม่ใช่หรือ

ไม่มีความคิดเห็น: