หน้าเว็บ

04 มิถุนายน 2559

ไม่มีอะไรผิด อะไรถูก - แน่หรือ?

เมื่อเกิดกรณีเห็นต่าง เกิดความขัดแย้ง การให้คู่กรณีออมชอมกันด้วยคำพูดไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก ไม่มีอะไรผิด ไม่มีะไรถูก นั้น จบแล้วหรือ

จริงๆ แล้วก็เป็นการจัดการความขัดแย้งเบื้องต้น ที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์ไว้ แล้วเดินสู่เป้าหมายพร้อมกัน ดูเหมือนดีนะ แต่จริงๆ แล้ว คู่กรณีทำใจได้จริงหรือเปล่า?
ขณะเดียวกัน การสอนเด็กว่าไม่มีอะไรผิด อะไรถูก ก็จะทำให้เด็กได้รับการปลูกฝังว่า สามารถทำอะไรก็ได้ซิ เพราะไม่มีอะไรผิดถูกอยู่แล้ว

การจัดการความขัดแย้งขั้นสูง คือการจัดการแบบบูรณาการ (นะโยม!)

หลักการสำคัญคือ มุ่งเข้าหาหลักการ (ธรรมชาติเดิมแท้ ไร้การปรุงแต่ง) ซึ่งStephen Covey กล่าวไว้ใน 7 Habitsฯ (ใช้คำว่าหลักการ  ผมชอบใช้หลักธรรม มากกว่า)

ใครก็ตาม ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหลักธรรมได้ ไม่งั้นก็จะเป็นคนเห็นแก่ตัว มักง่าย เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ยกตนข่มท่าน เอาแต่พูดไม่ฟังคนอื่น พูดอย่างทำอย่าง อกตัญญู ไร้ความรับผิดชอบ ขี้เกียจ สิงอยู่แต่ในโซนแห่งความสุขสบาย ฯลฯ โอ้ย! สารพัดเลว

นอกจากจะสามารถจัดการความขัดแย้งได้แบบบูรณาการแล้ว (ถ้าไม่ชนะด้วยกันทั้งคู่ เราก็ไม่ตกลงใดๆ ทั้งสิ้น) คนที่ยึดมั่นในหลักธรรม ย่อมเป็นที่ไว้วางใจ เชื่อใจได้ว่า จะไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกนำ

จะเป็นชีวิตที่ "เรียบง่าย" อย่างแท้จริง

(ต้องมีวาทะศิลป ความอดทดอดกลั้น มีทักษะในการสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจกัน ใช้สุนทรียสนทนา หรือสื่อสารอย่างสันติ มีเมตตา และที่สำคัญ ยึดมั่นต่อความเท่าเทียมกันในความเป็นคน)

22 พฤษภาคม 2559

ขอพลัง (สติ) จงอยู่กับท่าน

ปัญหาจากคนปากเสีย ถ้าทำให้หงุดหงิด รำคาญใจ ก็หมายความว่า เรากำลังถูกสังคมรอบข้างปั่นหัวอยู่ใช่ไหม
ทำไมยอมให้เขาปั่นหัว?
ทำใจได้ก็ทำไป ไม่นานโลกก็จะเข้าใจ
แต่อีกทางหนึ่ง ทำไมไม่ปั่นหัวสังคมรอบข้างกลับซะเลยไหม แค่ใช้หลักการทางจิตวิทยานิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นเอง
สำคัญคือ อย่ายอมรับชะตากรรม


ปัญหาอุปสรรค เป็นเพียงหินรองก้าว เหยียบมันเพื่อขึ้นสู่ที่สูง มี AQ สูงนะ

หากหมดพลัง ก็ต้องเติมพลัง
กินเหล้า เม้าท์ ฯลฯ ไม่ได้ช่วยเพิ่มพลัง แค่ลืมๆ ปัญหาเท่านั้น
สมถกรรมฐาน ฟื้นฟู เพิ่ม เติมพลังทางกาย
วิปัสสนากรรมฐาน เพิ่มพลังทางจิต
ลองหรือยัง ทำเป็นหรือเปล่า?

21 พฤษภาคม 2559

มั่นใจนะว่าสำคัญ มีคุณค่าพอ



เมื่อมีสถานการณ์ที่ต้องเลือก เราจะเลือกสิ่งสำคัญ หรือมีคุณค่ากว่าเสมอ
เช่น
  • จะไม่ไปตามนัด เพราะมีสิ่งสำคัญ มีคุณค่ากว่า แม้แต่อุปสรรคบางอย่างก็อาจสำคัญกว่าการรัษาคำพูด
  • ไม่รับเขาเป็นเพื่อนใน FB เพราะมีสิ่งสำคัญมีคุณค่ากว่าการแสดงความสัมพันธ์แบบนั้น
  • ไม่ได้ตระหนักว่าผู้อื่นเสียสละเวลา แรงกาย แรงใจให้ ก็เพราะไม่เห็นความสำคัญในคุณค่านั้น หรือไม่ได้คิดว่าว่าผู้อื่นได้เสียสละอย่างแท้จริง
  • นัดกันไว้ดิบดี แต่มีนัดอื่นเข้ามาอีก เราก็เลือกนัดกับคนที่สำคัญและมีคุณค่ากว่า
  • ฯลฯ

บางที่ผู้กระทำอาจจะไม่ได้คิดแบบนั้นก็ได้ แต่เมื่อลองพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว หลักความจริงของ "การเลือกสิ่งสำคัญทำ" ก่อนนี้ ก็ไม่อาจปฏิเสธได้

แต่คนที่ถูกกระทำเล่า ก็เห็นต้องพิจารณาแล้วว่าตนเองได้สร้างคุณค่าและความสำคัญให้เขาเพียงพอหรือไม่ หากไม่ ก็ไม่ต้องโทษกัน
หากแต่ได้ทุ่มเมให้แล้ว เขายังไม่เห็นคุณค่า ก็มีทางเลือก 3 ทาง

  1. ถอนตัว
  2. ทำใจ ยึดถือว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น แล้วยังคงปฏิบัติเช่นเดิม
  3. ยอมรับและภักดี รักอย่างไม่มีเงื่อนไข เขาจะทำอย่างไรก็ไม่อาจคลายความรักความเมตตาได้
แต่ที่เป็นผลกรรมของเหตุการณ์นี้อย่างชัดเจน คือ การถอนบัญชีออมใจในเรื่องความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความน่าเชื่อถือไว้วางใจไปแล้ว อันจะส่งผลต่อความเชื่อถือไว้วางใจในอนาคต

แก้ได้ไหม ได้ด้วยการปฏิบัติในปัจจุบัน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาบ้างเพื่อพิสูจน์ว่าเราได้ฝากบัญชีออมใจไว้อย่างเพียงพอ เหมาะสมแล้ว
อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 ฝ่ายก็ควรยึดหลักว่า "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย (สิ่งทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น)" 

20 มิถุนายน 2558

บางสิ่งที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ


เคยไหมที่ปัญหาบางอย่างที่เราฝ่าฟันก้าวข้ามมาได้แล้ว ทำให้เราไม่ยอมกลับไปปฏิบัติดังเช่นเดิม แต่ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไรคนอื่นก็ไม่เข้าใจ เพียงเพราะเขายังไม่ได้ก้าวข้ามมา

21 พฤษภาคม 2558

สติ (ที่หายไป 2 ปีกว่า)

จำได้ว่าได้เอาหลักการของ Stephen Covey ผสานเข้ากับหลักธรรม ที่เหตุการณ์ต่างๆ ที่กระทบเรา เรามีอิสระในการเลือกที่จะตอบสนอง
เมื่อตอบสนองออกไป (พฤติกรรม) ก็จะเกิดเป็นผลลัพธ์ขึ้นมา (กรรม)

สติคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เลือกตอบสนองได้อย่างเป็นธรรม เป็นไปตามหลักการ

แต่ขอให้พร้อมนะที่จะเกิดความเข้าใจผิดจากผู้คน ก็ตอบสนองต่อไป หมดกรรมกันเมื่อไร ก็เข้าใจกันเองแหละ

25 พฤศจิกายน 2556

อนุรักษ์แบบอุปาทาน?

ทุกสิ่งอย่างล้วนเปลี่ยนแปลง และต่างก็กล่าวว่าตนนั้นคือผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง
แต่ทำไม ไม่ยืดหยุ่นเอาซะเลย
ทำงานแต่ละอย่างก็ต้องอย่างงั้นอย่างงี้เป๊ะๆ แม้แต่แบบตัวอักษรก็ยังบังคับให้ใช้อยู่ฟอนต์เดียว
อนุรักษ์มากเกินไปก็ไม่ยืดหยุ่น ก็คืออุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น และมีอัตตา ตัวกูของกูล้นเหลือ

19 พฤศจิกายน 2556

นักรบ, นักเจรจาต่อรอง

เหตุเกิดในที่ทำงานทั่วๆ ไป
เมื่อเกิดความขัดแย้ง เกิดเรื่องไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ ถูกกดดัน ถูกเอาเปรียบ มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ใช้วิธีเคลียร์ให้ราบเป็นหน้ากลอง ให้แพ้ชนะกันไปข้าง
หากชนะก็สะใจ และเหยียดหยามคู่ต่อกร
หากแพ้ ก็เกิดอารมณ์ อาถรรพ์ อาฆาต

13 พฤศจิกายน 2556

อย่าคิดว่าชนะโหวตแล้วจะชนะไปซะหมด

คนเราชอบใช้วิธีโหวตเสียงเพื่อตัดสินเรื่องต่างๆ ให้ผู้คนทั้งหมดยอมทำตาม
ดังนั้นจึงต้องล็อบบี้ ต้องหว่าล้อมเสียงต่างๆ กันก่อนที่จะลงคะแนนโหวต
แต่เราก็ต้องยอมรับไม่ใช่หรือว่า เราเองที่แพ้โหวตนั้น ไม่ได้เต็มใจที่จะปฏิบัติตามมตินั้น หรือหากต้องปฏิบัติตาม ก็ปฏิบัติตามแบบไม่เต็มใจ อึดอัดขัดข้องใจที่ต้องปฏิบัติ
และจะสะใจมากเลย เมื่อผลการปฏิบัตินั้นมันล้มเหลว

26 กรกฎาคม 2556

ทำบุญแบบใช้ความคิด


อาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาปีนี้ ก็ยังคงเหมือนๆ เดิม วัดต้องหาที่เก็บหลอดไฟและเครื่องสังฆทานกันอีกแล้ว

ทำไมคนชอบเอาหลอดไฟไปทำบุญ ทำไมต้องถวายสังฆทาน (บางที่ยังมีนะ ที่เอาเทียนพรรษาไปถวายให้วัดที่ไม่จำเป็นต้องใช้เทียนพรรษา)

เพราะเราได้รับการสอนมาแบบไม่เต็มหรือเปล่าว่าบุญนั้นเกิดขึ้นได้ 3 ระดับ คือ ทาน ศีล ภาวนา

20 พฤษภาคม 2556

ยังมีอีกไหม? คนอหังการ์


 

พบความสอดคล้องในคำพูดของ Stephen R. Covey จาก The 8th Habit: From Effectiveness to Greatness (อุปนิสัยที่ 8 จากประสิทธิผลสู่ความยิ่งใหญ่!) ที่ว่า

“เพื่อรักษาความเคารพในตนเอง เราต้องทำสิ่งที่ถูกต้องแม้จะทำให้คนไม่พอใจ ดีกว่าทำให้คนพอใจชั่วคราวด้วยการทำสิ่งที่เรารู้ว่าผิด”

และจาก David J. Lieberman ใน Get Anyone to Do Anything (คู่มือสะกดใจคน) ว่า